human-rights

เราทุกคนมีสิทธิอะไรบ้าง

สิทธิมนุษยชน คือ สิ่งที่ประชาชนทุกคนพึงมี ซึ่งอยู่ในฐานะของความเป็นมนุษย์ โดยสิทธิดังกล่าวแทรกตัวอยู่ในการดำรงชีวิตส่วนบุคคลและสังคม โดยมีทั้งสิทธิทั้งตามกฎหมายและสิทธิอันไม่ขึ้นกับบทบัญญัติของกฎหมาย หากแต่เกิดจากมาตรฐาน แสดงให้เห็นถึง ความถูกต้อง, เป็นธรรม, ยุติธรรม แรกเริ่มคำว่า ‘สิทธิมนุษยชน’ จะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น เช่น สิทธิในธรรม หรือสิทธิในธรรมชาติ เป็นต้น

สรุปแล้ว สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงมี แสดงออกในเรื่องของความเท่าเทียมกัน ทั้งในเรื่องของศักดิ์ศรี, ความเป็นมนุษย์, ดำรงชีวิตอย่างอิสรเสรี โดยไม่นำความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ, สีผิว, เพศ, อายุ, ภาษา, ศาสนา รวมทั้งสถานภาพทางกาย, สุขภาพ, การเมือง มาตัดสิน ซึ่งสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่อาจถ่ายทอดหรือโอนให้แก่ผู้อื่นได้

สิทธิมนุษยชน สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ซึ่งอ้างอิงมาจาก Universal Declaration of Human Rights ได้แก่…

  • สิทธิพลเมือง – Civil Rights คือ มีเสรีภาพรวมทั้งความมั่นคงในชีวิต ไม่สามารถถูกทรมาน, ไม่ถูกทำร้าย หรือถูกฆ่า เพราะมันเป็นเรื่องผิดกฎหมายและผิดศีลธรรม เสมอภาคต่อกฎหมาย รวมทั้งสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ เป็นต้น
  • สิทธิทางการเมือง – Political Rights คือ ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมกับรัฐในการดำเนินกิจการอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ได้แก่ การรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมือง, ชุมนุมโดยสงบ และเลือกตั้งอย่างเสรี
  • สิทธิทางสังคม – Social Rights คือ ได้รับการศึกษาที่มีการกำหนดเกณฑ์ช่วงอายุบังคับ, ได้รับหลักประกันด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง, ผลักดันพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเต็มความกำลัง, ได้รับความมั่นคงทางสังคม, มีเสรีภาพในการเลือกคู่ครองของตนเองตลอดจนการตัดสินใจสร้างครอบครัว เป็นต้น
  • สิทธิทางเศรษฐกิจ – Economic Rights คือ การมีงานทำสามารถเลือกงานได้อย่างอิสระ รวมทั้งต้องได้รับค่าจ้างอย่างเหมาะสม, สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เป็นต้น
  • สิทธิทางวัฒนธรรม – Cultural Rights คือ ประชาชนมีเสรีภาพในการใช้ภาษาท้องถิ่นของตน, สามารถแต่งกายตามวัฒนธรรม รวมทั้งปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น, ปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา, พักผ่อนหย่อนใจรับชมศิลปวัฒนธรรมและเรื่องบันเทิงเริงใจต่างๆ ได้โดยไม่มีใครมาบีบบังคับ เป็นต้น

ลักษณะของสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ

  • พื้นฐานของมนุษย์ทุกคน มนุษย์ทุกคนล้วนมีความเท่าเทียมกัน
  • ส่วนบุคคล คือ สิทธิส่วนบุคคลที่ผู้อื่นไม่อาจล่วงละเมิด
    • พลเมือง ในฐานะที่เป็นพลเมืองเเห่งรัฐ แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อย่อยได้แก่…
    • สังคม เป็นสิทธิที่ได้รับบริการจากสังคม เช่น เข้าถึงบริการสาธารนะ เป็นต้น
    • สวัสดิการสังคม เช่น สิทธิการได้รับการศึกษาตามช่วงอายุที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น

วัฒนธรรม เช่น สิทธิเข้าร่วมพิธีกรรม, ประเพณีวัฒนธรรม เป็นต้น

About the author: admin